ยามาโมโตะ ยาเอโกะ
ยามาโมโตะ ยาเอโกะ

ยามาโมโตะ ยาเอโกะ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งยามาโมโตะ ยาเอโกะ (ญี่ปุ่น: 山本 八重子 โรมาจิYamamoto Yaeko, 1 ธันวาคม ค.ศ. 1845 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1932) หรือ นีจิมะ ยาเอะ (ญี่ปุ่น: 新島 八重 โรมาจิNiijima Yae) เป็นสตรีที่มีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคเอโดะหรือบากูมัตสึ จนถึงยุคเมจิยามาโมโตะ ยาเอโกะ เกิดเมื่อค.ศ. 1845 ที่ไอซุ (จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน) เป็นธิดาของซะมุไรยามาโมโตะ คมปาจิ (ญี่ปุ่น: 山本 権八 โรมาจิYamamoto Konpachi) ผู้มีอาชีพเป็นครูสอนการยิงปืนอยู่ในไอซุ ตระกูลยามาโมโตะนี้อ้างการสืบเชื้อสายจากยามาโมโตะ คันซูเกะ (ญี่ปุ่น: 山本勘助 โรมาจิYamamoto Kansuke)[1] ทหารเอกคนสนิทของทาเกดะ ชิงเง็ง นางยาเอโกะมีพี่ชายคือ ยามาโมโตะ คากูมะ (ญี่ปุ่น: 山本 覚馬 โรมาจิYamamoto Kakuma) ในช่วงวัยเยาว์นางยาเอะมีความสนใจในการใช้อาวุธปืนซึ่งผิดแปลกไปจากสตรีในยุคสมัยเดียวกัน ต่อมาคากูมะผู้เป็นพี่ชายเดินทางไปศึกษาวิทยาการตะวันตกที่เมืองเอโดะ ได้แนะนำให้นางยาเอะรู้จักกับคาวาซากิ โชโนซูเกะ (ญี่ปุ่น: 川崎尚之助 โรมาจิKawasaki Shōnosuke) ซึ่งนางยาเอะได้สมรสกับนายโชโนซูเกะเมื่อค.ศ. 1865ในช่วงสงครามโบชิง (Boshin War) หลังจากที่เข้ายึดนครเอโดะได้แล้ว ทัพฝ่ายพระจักรพรรดิได้รุกคืบขึ้นมาทางเหนือ เข้าโจมตีเมืองไอซุอันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายสนับสนุนโชกุน เกิดเป็นยุทธการไอซุ (Battle of Aizu) ขึ้นในค.ศ. 1868 นางยาเอะได้ตัดสินใจปลงผมแต่งตัวเป็นชายถือปืนเข้าร่วมรบในการปกป้องปราสาทไอซุวากามัตสึ (Aizuwakamatsu Castle) ในยุทธการครั้งนี้เมืองไอซุถูกทัพฝ่ายพระจักรพรรดิเข้ายึดครองในที่สุด คมปาจิบิดาของนางยาเอะเสียชีวิตในที่รบ และนายโชโนซูเกะผู้เป็นสามีถูกจับเป็นเชลยศึก หลังจากสงครามแล้วนางยาเอะได้เดินทางไปยังเมืองเกียวโต เพื่อเยี่ยมและดูแลพี่ชายนายคากูมะซึ่งถูกกุมตัวในฐานะเชลยศึกอยู่ นางยาเอะได้พบกับนายโจเซฟ ฮาร์ดี นีซีมา (Joseph Hardy Neesima) หรือ นีจิมะ โจ (ญี่ปุ่น: 新島 襄 โรมาจิNiijima Jō) มิชชันนารีชาวญี่ปุ่น นางยาเอะเข้ารีตคริสต์ศาสนาและสมรสใหม่กับนายนีจิมะเมื่อค.ศ. 1876 นางยาเอะได้ร่วมกับนายนีจิมะผู้เป็นสามีในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโดชิชะ (Dōshisha University)นายนีจิมะผู้เป็นสามีคนที่สองเสียชีวิตลงเมื่อค.ศ. 1890 หลังจากนั้นนางยาเอะได้ผันตนเองมาสู่ด้านการพยาบาลและเข้าทำงานในสภากาชาดญี่ปุ่น (Japanese Red Cross) ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) นางยาเอะได้เข้าทำงานที่เมืองฮิโรชิมะในฐานะนางพยาบาลช่วยเหลือทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม ด้วยคุณงามความชอบทำให้นางยาเอะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ (Order of the Precious Crown) จากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเมื่อค.ศ. 1896 ในค.ศ. 1904 นางยาเอะได้เข้าช่วยเหลือทหารบาดเจ็บอีกครั้งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นนางยาเอะถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1932 ด้วยอายุ 86 ปี ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น